สัปดาห์ที่ 16 3/09/52

บริการซ่อมคอมพิวเตอร์ภายในวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม

หาศัพท์คอมพิวเตอร์ 10 คำ พร้อมความหมาย และ อ่านหน้าชั้นเรียน

สัปดาห์ที่ 13 13/08/52

รายงานหน้าชั้นเรียน

































สัปดาห์ที่ 12 13/08/52

สรุป Windown Xp

ส่วนประกอบของ Windows XP

เดสก์ทอป (Desktop) คือบริเวณพื้นที่หรือฉากของระบบปฏิบัติการ Windows เปรียบเสมือนส่วนบนของโต๊ะทำงาน ซึ่งบริเวณนี้เป็นส่วนแสดง Icon หรือ Windows ที่เปิดทำงาน และเป็นส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้โดยตรง ซึ่งแสดงผลให้สามารถรับรู้ได้ และผู้ใช้สามารถโต้ตอบการทำงานได้

Taskbar เป็นแถบแสดง Start Menu และหากมีโปรแกรมเปิดใช้งานอยู่ จะแสดงแถบชื่อโปรแกรมให้เห็นที่ Taskbar ดังรูป หากต้องการใช้งานโปรแกรมใด ให้คลิกที่แถบชื่อโปรแกรมนั้น และถ้ามีการปิดโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ แถบของโปรแกรมนั้นจะหายไปจาก Taskbar

เมนู Start (Start Menu)
ปุ่ม Start เป็นปุ่มสำหรับเรียก เมนูหลักของระบบปฏิบัติการ Windows XP ซึ่งจะประกอบด้วย
เมนู (Menu) สำหรับเปิดเมนูย่อยหรือเรียกใช้โปรแกรมของระบบ Windows XP
เมนูย่อย (Submenu) สำหรับเปิดเมนูย่อยหรือเรียกใช้โปแกรมต่าง ๆ ที่ติดตั้งไว้

การใช้งานโปรแกรม

การเรียกใช้งานต่างๆ ที่อยู่ในเครื่อง ให้คลิกที่ปุ่ม Start แล้วเลื่อนเมาส์ไปที่ All Programs จะปรากฏโปรแกรมที่มีอยู่ในเครื่อง



สัปดาห์ที่ 11 6/08/52

1. งานที่ POWER Point เรื่องไข้หวัด2009 (เดียว)

2. รายงาน เรื่องการติดตั้ง Windows XP โดยแบ่งงานเท่าๆๆกันไปพิม (กลุ่ม)

3. ดำเนินการทำPOWER Point เรื่องการติดตั้ง Windows XP โดยสรุป ไม่เกิน20 เฟรม(กลุ่มX
)

สัปดาห์ที่ 10 16/07/52 Harddisk












ฮาร์ดดิสก์(Harddisk)ถือ เป็นสื่อในการเก็บข้อมูลหลักของคอมพิวเตอร์ ภายในมีแผ่นเหล็กกลมแบนมาซ้อนทับกันเป็นจำนวนหลายแผ่นยึดติดกับมอเตอร์ที่ หมุนด้วยความเร็วหลายพันรอบต่อนาที โดยมีแขนเล็กๆยื่นออกมา ตรงปลายแขนจะมีหัวอ่านใช้สำหรับอ่านและเขียนข้อมูลบนจานแม่เหล็กโดยหลักการ เปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กที่หัวอ่าน ขนาดของจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสก์สำหรับเครื่องพีซีตั้งโต๊ะ(Desktop)จะมี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่3.5นิ้ว ส่วนของเครื่องโน๊ตบุ๊คจะมีขนาด2.5นิ้ว


ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์

1.หัวต่อ IDE/SATA Data เป็นหัวต่อสำหรับสายนำข้อมูลเข้า (Data) โดยหัวต่อแบบ IDE มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบนๆมีขา40ขา(20แถว2ขา) ส่วนหัวต่อแบบ Serial ATA (SATA) จะมีขาเพียง7ขา(หน้าสัมผัส) และหัวต่อแบบSCSIที่นิยมใช้กับเครื่องเซิฟเวอร์ในองค์กรก็จะมีหัวต่อที่แตก ต่างกัน เพื่อป้องกันมิให้ผู้ใช้เสียบผิด

2.หัวต่อ Power/SATA Power คือ หัวต่อสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าไปให้ฮาร์ดดิสก์ โดยแบบIDEจะใช้หัวต่อแบบเดียวกับหัวต่อแหล่งจ่ายไฟที่ใช้กันทั่วไป ในขณะที่ฮาร์ดดิสก์แบบSerial ATAจะใช้หัวต่อแบบ15ขา(หน้าสัมผัส) โดยจะจ่ายไฟที่ระดับ 3.3V เพิ่มขึ้นมาจากปกติที่มีเพียง 5V และ 12V

3.จัมเปอร์ (Jumper) ใช้กับฮาร์ดดิสก์แบบ IDE เท่านั้น เนื่องจากการเชื่อมต่อแบบ IDE สายแพเส้นเดียวจะสามารถติดตั้งฮาร์ดดิสได้2ตัวพร้อมกัน ดังนั้น จัมเปอร์จึงใช้เป็นตัวตั้งค่าให้ฮาร์ดดิสก์เป็นตัวหลัก (Master) หรือตัวรอง (Slave)

4.ชิพควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานและการรับ/ส่งข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ มีลักษณะเป็นแผงวงจรติดตั้งอยู่บนตัวฮาร์ดดิส


ระบบฮาร์ดดิสค์แตกต่างกับแผ่นดิสเกตต์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีจำนวนหน้าสำหรับเก็บบันทึกข้อมูลมากกว่าสองหน้า นอกจากระบบฮาร์ดดิสค์จะเก็บบันทึกข้อมูลเหมือนแผ่นดิสเกตต์ยังเป็นส่วนที่ ใช้ในการอ่านหรือเขียนบันทึกข้อมูลเหมือนช่องดิสค์ไดรฟ์ แผ่นจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสค์ จะมีความหนาแน่นของการจุข้อมูลบนผิวหน้าได้สูงกว่าแผ่นดิสเกตต์มาก เช่น แผ่นดิสเกตต์มาตราฐานขนาด 5.25 นิ้ว ความจุ 360 กิโลไบต์ จะมีจำนวนวงรอบบันทึกข้อมูลหรือเรียกว่า แทร็ก(track) อยู่ 40 แทร็ก กรณีของฮาร์ดดิสค์ขนาดเดียวกันจะมีจำนวนวงรอบสูงมากกว่า 1000 แทร็กขึ้นไป ขณะเดียวกันความจุในแต่ละแทร็กของฮาร์ดดิสค์ก็จะสูงกว่า ซึ่งประมาณได้ถึง 5 เท่าของความจุในแต่ละแทร็กของแผ่นดิสเกตต์ เนื่องจากความหนาแน่นของการบันทึกข้อมูลบนผิวแผ่นจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสค์ สูงมาก ๆ ทำให้หัวอ่านและเขียนบันทึกมีขนาดเล็ก ตำแหน่งของหัวอ่านและเขียนบันทึกก็ต้องอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ชิดกับผิวหน้า จานมาก โอกาสที่ผิวหน้าและหัวอ่านเขียนอาจกระทบกันได้ ดังนั้นแผ่นจานแม่เหล็กจึงควรเป็นแผ่นอะลูมิเนียมแข็ง แล้วฉาบด้วยสารแม่เหล็ก ฮาร์ดดิสค์จะบรรจุอยู่ในกล่องโลหะปิดสนิท เพื่อป้องสิ่งสกปรกหลุดเข้าไปภายใน ซึ่งถ้าต้องการเปิดออกจะต้องเปิดในห้องเรียก clean room ที่มีการกรองฝุ่นละออกจากอากาศเข้าไปในห้องออกแล้ว ฮาร์ดดิสค์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันเป็นแบบติดภายในเครื่องไม่เคลื่อนย้ายเหมือน แผ่นดิสเกตต์ ดิสค์ประเภทนี้อาจเรียกว่า ดิสค์วินเชสเตอร์(Winchester Disk)